กฎหมายระหว่างประเทศกับการใช้แม่น้ำโขง | ศิรวดี งามวิเศษชัยกุล

กฎหมายระหว่างประเทศกับการใช้แม่น้ำโขง | ศิรวดี งามวิเศษชัยกุล

วันที่นำเข้าข้อมูล 18 Aug 2021

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 14 Dec 2022

| 11,984 view
cover_Intl_law_and_the_Mekong

 

เอกสารศึกษา (Study Paper)

กฎหมายระหว่างประเทศกับการใช้แม่น้ำโขง (International Law and the Use of the Mekong River)

ศิรวดี งามวิเศษชัยกุล | Sirawadee Ngamwisedchaikul

ISBN 978-616-341-079-5

(Download .pdf below)

บทคัดย่อ

แม่น้ำโขง มีโครงสร้างของระบบนิเวศที่ค่อนข้างซับซ้อนประกอบไปด้วยทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดแม้จะมีเส้นพรมแดนระหว่างประเทศที่แบ่งแยกแม่น้ำโขงออกเป็นสัดส่วนจากกัน ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สร้างความห่วงกังวลแก่หลายฝ่ายว่าการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงภายในดินแดนของประเทศต้นน้ำอาจจะสร้างความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญให้กับประเทศที่อยู่ปลายน้ำ งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและวิเคราะห์เนื้อหาของกฎหมายระหว่างประเทศที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของรัฐริมฝั่งในการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำระหว่างประเทศ รวมทั้งเพื่อชี้ให้เห็นช่องโหว่ของกฎหมายดังกล่าวเมื่อนำมาปรับใช้กับกรณีของแม่น้ำโขง และได้เสนอแนะแนวทางในการอุดช่องโหว่ดังกล่าว จากการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการใช้แม่น้ำระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสนธิสัญญาหรือกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ พบว่าเนื้อหาส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นกำหนดหน้าที่ของรัฐริมฝั่งในการใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันผลกระทบข้ามพรมแดนของกิจกรรมการใช้แม่น้ำระหว่างประเทศภายในประเทศของตน รวมถึงกำหนดขั้นตอนทางกฎหมายในการเยียวยาความเสียหายแก่รัฐริมฝั่งที่ได้รับความเสียหายจากกิจกรรมการใช้แม่น้ำระหว่างประเทศ งานวิจัยฉบับนี้จึงเลือกที่จะแบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนแรก ศึกษาพันธกรณีของรัฐริมฝั่งในการป้องกันมิให้การใช้แม่น้ำโขงภายในดินแดนของตนสร้างความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญแก่รัฐริมฝั่งอื่น รวมทั้งวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้รัฐริมฝั่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนที่สอง ศึกษาว่า ในกรณี ที่รัฐริมฝั่งละเลยไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าวและความเสียหายได้เกิดขึ้น กฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องความรับผิดชอบระหว่างประเทศจะสามารถช่วยเยียวยารัฐริมฝั่งที่ได้รับความเสียหายได้จริงหรือไม่

คำสำคัญ: แม่น้ำโขง; พันธกรณีในการป้องกันความเสียหาย; ความเสียหายข้ามพรมแดน; ความรับผิดชอบระหว่างประเทศ

Abstract

The Mekong River constitutes a complex ecosystem in which water and other related resources are interconnected regardless of the national boundaries. Transboundary impacts of water utilization projects located in the Mekong upstream have today become the most concerning issue for the co-riparians downstream.

The purposes of this research paper are to explore content of international laws governing use of international river and to identify their loopholes when being applied in the current context of the Mekong River. Some recommendations to close that loopholes are also provided.

International laws regarding use of international river center mostly on preventive and remedial aspects of transboundary harms. From this perspective, the research paper is divided into two main parts. The first part examines a rule requiring the riparian states to prevent substantial transboundary harm while using a portion of the Mekong river located in their own territory. Some loopholes preventing these States to fully comply with that rule are also examined in this first part. The second part examines whether the law of state responsibility could in practice ensure effective remedy for the co-riparians claiming that envrionmental conditions of the Mekong river in their territories are being damaged due to extensive uses of the river by upstream countries and that their right to use this same river have been violated.

Keywords: Mekong River; obligation to prevent; transboundary harm; international responsibility

Documents

กฎหมายระหว่างประเทศกับการใช้แม่น้ำโขง_(ศิรวดี).pdf