การทูตข้ามสมุทร: เครื่องมือจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์การต่างประเทศของไทย | ศุภมิตร ปิติพัฒน์

การทูตข้ามสมุทร: เครื่องมือจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์การต่างประเทศของไทย | ศุภมิตร ปิติพัฒน์

วันที่นำเข้าข้อมูล 24 Dec 2021

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 14 Dec 2022

| 12,363 view
cover_การทูตข้ามสมุทร

หนังสือ

การทูตข้ามสมุทร: เครื่องมือจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์การต่างประเทศของไทย

Diplomacy Across the Seas: Learning Tools from Thai Foreign Policy Experience

ศุภมิตร ปิติพัฒน์ Supamit Pitipat

ISBN 978-616-341-098-6

(Download .pdf below)

 

 

การทูตข้ามสมุทร นำงานวิจัยนโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านทางทะเลในยุคสงครามเย็น ที่ศึกษาผ่านมุมมองของนักการทูตและเอกสารในฝ่ายไทย มาจัดการความรู้และสังเคราะห์ออกมาเป็นกรอบสำหรับอ่านความหมายของเหตุปัจจัยในสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศระดับภูมิภาค ยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจและโครงสร้างอำนาจในระดับโลกที่ส่งผลเข้ามากระทบการเมืองระหว่างประเทศและความมั่นคงของภูมิภาคและแนวทางการอ่านผลประโยชน์แห่งชาติในการกำหนดนโยบายต่างประเทศกับอิทธิพลของปัจจัยอุดมการณ์ในปัญหาการเมืองของการกำหนดผลประโยชน์แห่งชาติ

นอกจากกรอบสำหรับอ่านสถานการณ์ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศดังกล่าวแล้ว การทูตข้ามสมุทร ยังจัดประสบการณ์จากการต่างประเทศของไทยในสมัยสงครามเย็นตามแนวทางของ political realism ได้ข้อสรุปออกมาเป็นหลัก 10 ประการ ด้วยความมุ่งหวังว่า หลักทั้ง 10 ประการนี้จะมีส่วนช่วยให้ภาคปฏิบัติ ซึ่งต้องรับผิดชอบงานการทูตเพื่อตอบโจทย์ที่ยากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน และภาควิชาการด้านนโยบายต่างประเทศศึกษาที่พบกับเงื่อนไขใหม่ๆ ในการเมืองโลก ได้แง่คิดและมุมมองสำหรับจัดการกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสิ่งที่ยังคงเกิดเวียนซํ้าบนเส้นเวลาของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

บทคัดย่อ

        หนังสือเล่มนี้ปรับปรุงจากงานวิจัยจัดการความรู้ที่เป็นการสังเคราะห์เครื่องมือการเรียนรู้เกี่ยวกับการต่างประเทศจากงานวิจัยของสุรพงษ์ ชัยนาม ชุด “นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านในยุคสงครามเย็น: สี่กรณีศึกษาเปรียบเทียบ บรูไน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย” โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสกัดหากรอบสำหรับถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการต่างประเทศของไทยในสมัยสงครามเย็นเพื่อประโยชน์ทั้งในแวดวงนโยบายภาคปฏิบัติ และในแวดวงการศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

        การสังเคราะห์เครื่องมือการเรียนรู้เกี่ยวกับการต่างประเทศจากงานวิจัยของสุรพงษ์ ชัยนามจัดออกมาเป็น 3 ชั้น ชั้นแรกนำเสนอกรอบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศในภูมิภาคที่ส่งผลต่อการต่างประเทศไทย ชั้นที่ 2นำเสนอกรอบพิจารณาผลประโยชน์แห่งชาติและปัญหาระหว่างผลประโยชน์แห่งชาติกับอุดมการณ์ ชั้นที่ 3 สกัดหลักการที่เป็นพื้นฐานวิธีคิดสำหรับการดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศและการแก้ปัญหานโยบายต่างประเทศ ฐานคิดในการสังเคราะห์บทเรียนตลอดทั้งเล่มอาศัย political realism เป็นเครื่องมือนำทาง

Abstract

        This book is a substantially revised version of a knowledgemanagement research report drawing learning tools for foreign policy studies and practice from Surapong Jayanama’s research project on “Thai Foreign Policy towards Neighboring Countries during the Cold-War Period: 4 Comparative Case Studies, Brunei, Indonesia, the Philippines and Singapore”. Its major aim is to provide for the policy and the academic circles analytical and conceptual frameworks deemed
useful for facilitating knowledge sharing on Thai foreign policy during
the Cold War.

       The book is organized into 3 sections, i.e., frameworks for analyzing regional landscape affecting the conduct of Thai foreign policy, frameworks for analyzing national interests and the relations between national interests and ideology, and lastly basic principles for coping with foreign relations and foreign policy problems. The book's main analytical framework is political realism.

Documents

การทูตข้ามสมุทร_ศุภมิตร_ปิติพัฒน์.pdf