อาเซียนในมุมมองของไต้หวัน | สิทธิพล เครือรัฐติกาล

อาเซียนในมุมมองของไต้หวัน | สิทธิพล เครือรัฐติกาล

วันที่นำเข้าข้อมูล 14 Feb 2022

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 14 Dec 2022

| 9,135 view
Cover_อาเซียนในมุมมองของไต้หวัน

เอกสารศึกษา (Study Paper)

อาเซียนในมุมมองของไต้หวัน (ASEAN in the Eyes of Taiwan)

สิทธิพล เครือรัฐติกาล | Sitthiphon Kruarattikan

ISBN 978-616-341-105-1

(Download .pdf below)

บทคัดย่อ

เอกสารนี้มุ่งฉายภาพนโยบายของไต้หวันต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 ทั้งนี้ไต้หวันจนถึงกลางทศวรรษ 1980 มุ่งเน้นการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์และพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศโลกเสรีอย่างฟิลิปปินส์ เวียดนามใต้ และไทย รวมทั้งพยายามผูกมิตรกับอินโดนีเซียในฐานะผู้นำอาเซียนโดยหวังให้องค์การนี้เป็นพลังสำคัญในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์หลังสหรัฐอเมริกาถอนตัวจากสงครามเวียดนามในกลางทศวรรษ 1970 แต่เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดในปลายทศวรรษ 1980 ไต้หวันก็หันมาเน้นการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศในอาเซียนเพื่อขยายพื้นที่ทางการทูต ดูได้จากการประกาศ "นโยบายมุ่งใต้" และ "นโยบายมุ่งใต้ใหม่" เมื่อ ค.ศ. 1993 และ ค.ศ. 2016 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม หลักการจีนเดียวยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศในอาเซียนระมัดระวังในการดำเนินความสัมพันธ์กับไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใดก็ตามที่สถานการณ์ข้ามช่องแคบไต้หวันเกิดความตึงเครียด

คำสำคัญ: ไต้หวัน; ความสัมพันธ์กับภายนอก; อาเซียน

Abstract

The Study Paper portrays the overview of Taiwan’s policy towards Southeast Asia since 1949. Taiwan until the mid-1980s put an emphasis on promoting anti-Communism and developing relations with free-world countries like the Philippines, South Vietnam, and Thailand. It also tried
to cultivate relations with Indonesia in the hope that ASEAN under the latter’s leadership would be a major force against Communism after the American withdrawal from the Vietnam War in the mid-1970s. With the end of the Cold War in the late 1980s, Taiwan shifted its focus to strengthening economic relations with ASEAN countries in order to expand its diplomatic space, with the launches of “Go-South Policy” and “New Southbound Policy” in 1993 and 2016 respectively. However, the One-China principle has rendered ASEAN countries careful in engaging
Taiwan, especially whenever the cross-strait relations become tense.

Keywords: Taiwan; External Relations; ASEAN

Documents

อาเซียนในมุมมองของไต้หวัน_(สิทธิพล).pdf