โอกาสและข้อท้าทายในความสัมพันธ์ไทย-ตุรกี | ยาสมิน ซัตตาร์ อันวาร์ กอมะ และมัรวะ พลายพล

โอกาสและข้อท้าทายในความสัมพันธ์ไทย-ตุรกี | ยาสมิน ซัตตาร์ อันวาร์ กอมะ และมัรวะ พลายพล

วันที่นำเข้าข้อมูล 29 Sep 2023

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 Sep 2023

| 2,256 view
Cover_โอกาสและข้อท้าทายในความสัมพันธ์ไทย-ตุรกี

เอกสารศึกษา (Study Paper)

โอกาสและข้อท้าทายในความสัมพันธ์ไทย-ตุรกี (Opportunities and Challenges in Thailand-Türkiye Relations)

ยาสมิน ซัตตาร์ | Yasmin Sattar
อันวาร์ กอมะ | Anwar Goma
มัรวะ พลายพล | Marwah Plaipon

ISBN 978-616-341-134-1

(Download .pdf below)

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสและข้อท้าทายที่จะช่วยหนุนเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศตุรกี รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการกระตุ้นความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ โดยมีวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการเก็บข้อมูลผ่านเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกภาคส่วนที่มีส่วนในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับตุรกี จำนวน 16 ท่าน ทั้งแบบออนไลน์และแบบภาคสนาม ประกอบกับตัวเลขจากการสำรวจด้วยกลุ่มตัวอย่างเฉพาะ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการต่างประเทศของตุรกีนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเน้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการทูตเชิงมนุษยธรรม โดยตุรกีเน้นสร้างความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ โดยมีกลไกความร่วมมือผ่านกลไกทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีร่วมกัน รัฐบาลตุรกีได้ประกาศนโยบาย Asia Anew Initiative เพื่อสร้างความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย ซึ่งหมายรวมถึงประเทศไทยด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับตุรกีมีแนวโน้มที่จะมีความใกล้ชิดมากขึ้นเนื่องจากกิจกรรมทางการทูตที่มีมากขึ้นตั้งแต่ค.ศ. 2018 สำหรับโอกาสในการพัฒนาความสัมพันธ์ไทยกับตุรกีนั้นมีทั้งในแง่ของภูมิรัฐศาสตร์ที่เอื้อต่อการเป็นศูนย์รวม (hub) ของทั้งสองภูมิภาค ภูมิหลังประวัติศาสตร์ที่ไร้ข้อขัดแย้ง และเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเหมือนกัน นอกจากนี้ การเจรจากรอบการค้าเสรีที่ใกล้แล้วเสร็จก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ แต่กระนั้นความห่างไกลทางภูมิศาสตร์ และองค์ความรู้ที่จำกัดทั้งในระดับภาคประชาชนเอกชน และรัฐบาลยังคงเป็นข้อท้าทายสำคัญสำหรับการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

Abstract

This paper examines the opportunities and challenges of Thailand-Türkiye relations and offers policy recommendations for fostering relations between the two countries. It uses a qualitative method including document research, and in-depth interviews of 16 key informants, on both online and onsite platforms. It also uses a survey with a specific group. The findings show that Turkish foreign policy was based on economic cooperation and humanitarian diplomacy and utilizes cooperative mechanisms in political, economic, social, and technological areas. In essence, Türkiye announced Asia Anew Initiative to reinforce cooperation in Asia including Thailand. Since 2018, Thailand-Türkiye relations have developed significantly through diplomatic activities. The relations between two countries can improve further if they emphasise their shared strength in geopolitics which can be a hub in the two regions, historical background of friendship, tourism and industry-based economy. Besides, the ongoing negotiation of the Free Trade Area is also another factor that strengthens their relations. Nevertheless, key challenges to their strong relations remain long-distance of their geography and limited knowledge in the levels of the public sector, private sector, and social sector.

Documents

โอกาสและข้อท้าทายในความสัมพันธ์ไทย-ตุรกี.pdf